สมาชิก

Login เข้าสู่ระบบ
กรุณากรอกอีเมล์ หรือ เลขใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
กรุณากรอกรหัสผ่าน

สมัครสมาชิกใหม่

เพื่อสิทธิ์ในการเข้าใช้งานที่มากกว่า

บทบาทของกล้องส่องตรวจในโพรงมดลูก (hysteroscope) เพื่อการวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial cancer)

บทบาทของกล้องส่องตรวจในโพรงมดลูก (hysteroscope)
เพื่อการวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial cancer)


ผศ.พญ.นวมลล์  เล็กสกุล

สาขาวิชามะเร็งวิทยานรีเวช

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial cancer) เป็นมะเร็งของระบบสืบพันธุ์สตรีที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น(1) ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ทำให้สามารถตรวจพบและวินิจฉัยได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งส่งผลให้การรักษาได้ผลดี มีอัตราตายจากโรคมะเร็งไม่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆของระบบสืบพันธุ์สตรี อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับมะเร็งโดยทั่วไป ในการวินิจฉัยแพทย์จำเป็นต้องได้ชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิ (histopathology) ซึ่งอาจจะได้จากการทำ endometrial biopsy หรือการขูดมดลูกแบบแยกส่วน (fractional curettage) แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการเก็บชิ้นเนื้อ ซึ่งส่งผลต่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและรวดเร็วตั้งแต่ระยะต้น การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมวิธีอื่นๆจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

          การส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก (hysteroscopy) มีการนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของ minimally invasive surgery โดย hysteroscopy เป็นการใช้กล้องเข้าไปดูรอยโรคหรือ lesion ในโพรงมดลูกอย่างชัดเจนและประเมินได้ทั่วถึงด้วยกำลังขยายของกล้อง hysteroscope และการใช้สารถ่างขยายโพรงมดลูกหรือ distension media นอกจากนี้เมื่อพบ lesion ก็สามารถตัดหรือ biopsy โดยใช้กรรไกรหรือ  hysteroscopic scissors ทำ hysteroscopic resection โดยใช้ห่วงไฟฟ้าหรือ loop หรือ morcellator ซึ่งไม่มีการใช้กระแสไฟฟ้าและลดการเกิดพังผืดในโพรงมดลูก (intrauterine adhesion) อีกด้วย

บทบาทของ hysteroscopy เพื่อช่วยในการวินิจฉัย

          ในปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด นอกจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจภายในแล้ว การทำอัลตราซาวน์ทางช่องคลอดหรือ transvaginal ultrasound (TVS) ก็เป็นการตรวจเพิ่มเติมที่ทำได้ง่าย สะดวกและทราบผลทันที The American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ได้ออก committee opinion สนับสนุนให้ TVS เป็นเครื่องมือที่ช่วย ในการประเมินเบื้องต้นในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มาพบแพทย์ด้วย เรื่องเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยมี negative predictive value สูงถึงร้อยละ 99 สำหรับโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(2) จาก meta-analysis เมื่อตรวจพบความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial thickness)โดย TVS มากกว่า 4 มิลลิเมตร(mm) ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด แพทย์ควรตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อจาก   เยื่อบุโพรงมดลูกไปส่งตรวจ(3) โดยการทำ endometrial biopsy ซึ่งสามารถทำได้ทันที ณ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกและราคาไม่แพง แต่โอกาสที่จะได้ชิ้นเนื้อไม่เพียงพอก็สูงถึงร้อยละ 5.9 และ เกิด histological diagnosis inconsistency สูงถึงร้อยละ 14.3(4) จาก systemic review และ meta analysis ในปี 2015 เปรียบเทียบระหว่าง hysteroscopy กับ endometrial biopsy พบว่า weighted failure rate ของ endometrial biopsy สูงถึงร้อยละ 11 (range 1-53%) และมีโอกาสได้ชิ้นเนื้อไม่เพียงพอสูงถึงร้อยละ 31 (range 7-76%) โดยร้อยละ 7 ของผู้ป่วยในกลุ่มนี้เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(5) โดย meta analysis อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2015 เช่นกันรายงานว่า hysteroscopy มี sensitivity สูงถึงร้อยละ 82.6 (95% confidence interval [CI], 66.9%- 91.8%) และ specificity 99.7% (95% CI 98.1% - 99.9%) สำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(6) การศึกษาเปรียบเทียบความสอดคล้อง (concordance) กัน ระหว่าง hysteroscopic directed biopsy ก่อนผ่าตัด และผล pathology หลังผ่าตัด พบว่าสูงถึงร้อยละ 80.2 โดยมี pathological grading concordance 79.4%(7)

          ดังนั้น ACOG จึงแนะนำว่าหากการทำ endometrial biopsy ได้ชิ้นเนื้อที่ไม่เพียงพอควรส่งตรวจเพิ่มเติมโดย hysteroscopy ร่วมกับการขูดมดลูก(2)

          ส่วน British Gynaecological Cancer Society (BGCS) แนะนำว่า ในสตรีหมดประจำเดือนที่มาพบแพทย์ด้วยเลือดออกทางช่องคลอดหรือสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน (hormone replacement therapy, HRT) แล้วมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดควรได้รับการประเมินด้วย TVS เพื่อวัด endometrial thickness และหาก endometrial thickness4 mm แพทย์ควรทำ endometrial biopsy ที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก หากไม่สามารถทำ endometrial biopsy ได้ หรือ ultrasound ตรวจพบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เรียบสม่ำเสมอ (irregularities) หรือผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกควรได้รับการประเมินโดย hysteroscopy ซึ่งทำได้ที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก(8)

          นอกจากบทบาทข้างต้นของ hysteroscopy เพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อในการวินิจฉัยเริ่มแรกสำหรับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว hysteroscopy ยังอาจช่วยบอกการลุกลามไปปากมดลูก (cervical involvement) ได้แม่นยำมากกว่า magnetic resonance imaging (MRI) และ TVS อีกด้วย (accuracy 94% vs 84% vs 80%, P<0.02)(9)         

เป็นที่ทราบกันดีว่าในผู้ป่วยที่ตรวจพบ atypical endometrial hyperplasia จาก endometrial biopsy หรือ การขูดมดลูกจะพบมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกร่วมด้วยสูงถึงร้อยละ 25 – 43 เมื่อมารับการตัดมดลูก (hysterectomy)(10) จากsystemic review และ meta analysis ความเสี่ยงของการประเมินพลาด (risk of underestimation)ไม่พบมะเร็งในผู้ป่วยที่มีสภาวะ complex atypical hyperplasia ของเยื่อบุโพรงมดลูกจาก uterine curettage สูงถึงร้อยละ 32.7 (95% CI 26.2 39.9%), จาก biopsy ผ่าน hysteroscopy (hysteroscopically guided biopsy) 45.3% (95% CI 32.8 58.5%) แต่ถ้าใช้ hysteroscopic resection จะเหลือเพียงร้อยละ 5.8 (95% CI 0.8-31.7%) ดังนั้นการทำ hysteroscopic resection จึงช่วยลดโอกาสของการตรวจไม่พบมะเร็ง (reduced risk of undiagnosed cancer) ในผู้ป่วยที่มีมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกร่วมกับ complex atypical hyperplasia(11)

การแพร่การกระจายของเซลล์มะเร็งจากการทำ hysteroscopy  

แม้ว่า hysteroscopy จะมีประโยชน์ดังกล่าวก็ยังมีความวิตกกังวลและมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (peritoneal dissemination of malignant cells) จากการทำ hysteroscopy ซึ่งอาจมีผลต่อการพยากรณ์โรค (prognosis) และอัตราการมีชีวิตรอด (overall survival) ของผู้ป่วยมะเร็งเพราะความจำเป็นของการใช้ distension media เพื่อให้สามารถมองเห็น และประเมินรอยโรคในโพรงมดลูก

แม้ว่า systemic review และ meta analysis ในปี 2010 รายงานว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่ผ่านการทำ hysteroscopy ก่อนผ่าตัดจะตรวจพบเซลล์มะเร็งในน้ำจากช่องท้อง (positive peritoneal cytology) ในอัตราที่สูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ผ่านการทำ hysteroscopy ก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (odd ratio [OR], 1.78; 95% CI, 1.132.79; P=0.01) แต่ meta analysisนี้ รวมการศึกษาตั้งแต่ก่อนปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่ International Federation of Gynecology and Obstetrics หรือ FIGO ประกาศใช้ staging ของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแบบใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งไม่นับรวม cytology ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยที่มีระยะของโรคที่สูงขึ้น (upstaging) จาก positive peritoneal cytology เพียงอย่างเดียวแล้วจึงมีมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 2.61; 95% CI,1.47 4.63; P=0.001) สิ่งที่น่าสนใจจากการศึกษานี้คือ การพบเซลล์มะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อความดันของ distension media สูงถึง 100 mmHg หรือมากกว่า แม้จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็เป็นข้อควรระวังในการทำ hysteroscopy ในผู้ป่วยที่สงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(12)

ในปี 2011 meta analysis อีกการศึกษาหนึ่งยืนยันการพบ positive peritoneal cytology ที่สูงกว่าในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่ผ่านการทำ hysteroscopy แต่เมื่อทำ subgroup analysis แล้วกลับไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มมะเร็งระยะเริ่มต้น (stage I และ II) (OR, 2.97; 95% CI, 0.82 10.7; P=0.10) และไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มแม้ว่าความดันของการถ่างขยายโพรงมดลูกจะสูงถึง 100 mmHg หรือมากกว่า (OR, 2.29; 95% CI, 0.92-5.68; P=0.08) นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าอัตราการมีชีวิตรอด (survival rate) หรือ การกลับเป็นซ้ำ (recurrence)จะแตกต่างไปภายหลังการทำhysteroscopy(13)

          การศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในปี 2016 ในผู้ป่วย 227 คน เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกภายหลังการทำ hysteroscopy กับการขูดมดลูกไม่พบความแตกต่างของอุบัติการณ์การตรวจพบ positive peritoneal cytology (13.2% ในกลุ่ม hysteroscopy เทียบกับ 12% ในกลุ่มขูดมดลูก, P=0.80) แต่เมื่อทำ detailed analysis พบว่าในกลุ่มมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกระยะที่ 1 ที่ผ่านการทำ hysteroscopy มีอัตราการตรวจพบ positive cytology สูงกว่า (12.8% vs 3.4%; P=0.04)(14)

ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก type II ซึ่งมักมีการพยากรณ์โรคที่แย่กว่าและแพทย์อาจกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายทางช่องท้อง (peritoneal dissemination) การศึกษา cohort retrospective analysis ในปี 2017 ในผู้ป่วย 140 คน รายงานว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่ได้รับการทำ hysteroscopy ตรวจพบ positive peritoneal cytology เปรียบเทียบกับ 12% ในกลุ่มที่ผ่านการขูดมดลูก (P=0.002) แต่แม้ว่า median diseasespecific survival จะแตกต่างกัน (53 เดือน VS 63.5 เดือน) แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.34) รวมทั้งไม่พบความแตกต่างในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ I และ II (60 เดือน vs 71 เดือน ; P=0.82) รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของอัตราการกลับเป็นซ้ำ (recurrent rate) (33%; P=0.92) และตำแหน่งของโรคที่กลับเป็นซ้ำ(15)

จากการศึกษาทั้งหมดดังกล่าวจะเห็นว่าผลการศึกษายังมีความขัดแย้งกันและไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากไม่มี randomized controlled trial หรือการศึกษาที่ติดตามผู้ป่วยในระยะยาวเพียงพอ การทำ hysteroscopy ในผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกให้ได้ ยังมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจวินิจฉัยวิธีเบื้องต้นอื่นๆ เช่น endometrial biopsy แล้วได้ชิ้นเนื้อหรือ specimen ไม่เพียงพอเพราะหากพลาดการวินิจฉัยมะเร็งไปแล้วผลลัพธ์ย่อมรุนแรงยิ่งกว่าความเสี่ยงต่อ positive peritoneal cytology ที่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนเรื่องผลต่อการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามเมื่อทำ hysteroscopy ในผู้ป่วยกลุ่มที่สงสัยหรือมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แพทย์ควรมีความเชี่ยวชาญและระมัดระวังความดันของ distension media ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น มดลูกทะลุ จากการทำ hysteroscopy อีกด้วย(16)

สรุปโดยรวมแล้ว hysteroscopy มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน อุปกรณ์และเทคนิคการทำมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อแพทย์นำมาใช้ควรมีความเชี่ยวชาญและเฝ้าระวัง ควบคุมความดันของ distension media ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย


References

1. Ferlay J, Soerjomataram I, Ervik M, at al. GLOBOCAN 2012 v1.0, Cancer Incidence and Mortality Worldwide: IARC CancerBase No. 11. Lyon, France: International Agency for Research on Cancer; 2013. http://globocan.iarc.fr.

2. ACOG Committee Opinion No. 734: The role of transvaginal ultrasonography in evaluating the endometrium of women with postmenopausal bleeding. Obstet Gynecol. 2018 May; 131: e124-e129.

3. Gupta JK, Chien PF, Voit D, Clark TJ, Khan KS. Ultrasonographic endometrial thickness for diagnosing endometrial pathology in women with postmenopausal bleeding: a meta-analysis. Acta Obstet Gynecol Scand.  2002; 81:799-816.

4. Xie B, Qian C, Yang B, et al. Risk factors of unsuccessful office-based endometrial biopsy: a comparative study of office-based endometrial biopsy (Pipelle) and diagnostic dilatation and curettage. J Minim Invasive Gynecol. 2017; pii: S1553-465031325-0.

5.  Van Hanegem N, Prins MM, Bongers MY, et al. The accuracy of endometrial sampling in women with postmenopausal bleeding: a systematic review and meta-analysis.  Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2016;197: 147-155.

6. Gkrozou F, Dimakopoulos G, Vrekoussis T, et al. Hysteroscopy in women with abnormal uterine bleeding: a meta-analysis on four major endometrial pathologies. Arch Gynecol Obstet. 2015; 291:1347-1354.

7. Sundar S, Bulegu J, Crosbie E, et al.BGCS uterine cancer guidelines, Recommendations for practice. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2017 Jun 213:71-97

8. Martinelli F, Ditto A, Bogani G, et al. Accuracy of pre-operative hysteroscopic guided biopsy for predicting final pathology in uterine malignancies. J Cancer Res Clin Oncol. 2017; 143:1275-1279.

9.  Ørtoft G, Dueholm M, Mathiesen O, et al. Preoperative staging of endometrial cancer using TVS, MRI, and hysteroscopy. Acta Obstet Gynecol Scand. 2013; 92:536-545.

10. Trimble Cl, Kauderer J, Zaino R, et al. Concurrent endometrial carcinoma in woman with a biopsy diagnosis of atypical endometrial hyperplasia: A Gynecologic Oncology Group study Cancer.2006; 106:812-819.

11. Bourdel N, Chauvet P, Tognazza E, et al. Sampling in Atypical Endometrial Hyperplasia: which Method Results in the lowest Underestimation of Endometrial Cancer? A Systematic Review and Meta-analysis. J Minim Invasive Gynecol. 2016 Jul-Aug; 23:692-701.

12. Polyzos NP, Mauri D, Tsioras S, Messini CI, Valachis AV, Messinis IE. Intraperitoneal dissemination of endometrial cancer cells after hysteroscopy: a systematic review and meta-analysis. Int J Gynecol Cancer. 2010; 20:261-267.

13.  Chang YN, Zhang Y, Wang YJ, Wang LP, Duan Hua. Effect of hysteroscopy on the peritoneal dissemination of endometrial cancer cells: a meta-analysis. Fertil Steril. 2011; 96:957-961.

14.  Dovnik A, Crnobrnja B, Zegura B, Takac I, Pakiz M. Incidence of positive peritoneal cytology in patients with endometrial carcinoma after hysteroscopy vs. dilatation and curettage. Radiol Oncol. 2016; 51:88-93.

15.  Chen J, Clark LH, Kong WM, et al. Does hysteroscopy worsen prognosis in women with type II endometrial carcinoma? PLoS One. 2017; 12: e0174226.

16. Stachowicz N, Mazurek D, Lozinski T, Czekierdowski A. Diagnostic hysteroscopy and the risk of malignant cells intraabdominal spread in women with endometrial cancer. Ginekol Pol. 2017; 88:562-567.